สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียถูกสกัดจากเลือดจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนแอนไอออน การกรองผ่านเจล และเอชพีแอลซี จนกระทั่งได้สารปฏิชีวนะจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Hp14, Hp15, Hp17, Hp31, Hp36 และ Hp51 เมื่อนำมาสกัดและแยกบริสุทธิ์ พบว่าสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น แซลโมเนลลา ไทฟี่ อี โคไล แสตปฟิลโลคอคคัส ออเรียส และ อีพิเดอมิดีส เครปเซลลา นิมโมเนีย สูโดโมแนส แอโรจิโนซ่า และ วิบริโอ คลอเลล่า การตรวจวัดน้ำหนักโมเลกุลสารปฏิชีวนะ 3 ชนิด ได้แก่ Hp14, Hp15, และ Hp51 ด้วยวิธี MALDI-TOF พบว่ามีขนาดเล็กกว่า 1 กิโลดาลตัน เมื่อส่องดูการทำงานของสารปฏิชีวนะเหล่านี้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน พบว่าสารปฏิชีวนะพุ่งเป้าทำลายเซลล์เมมเบรนหรือเยื่อบุเซลล์ของแบคทีเรียโดยตรง สารปฏิชีวนะเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนสารเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย และนี่อาจเป็นกลไกกาทำงานระบบภูมิคุ้มพื้นฐานของจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยด้วย
อ้างอิง: Sutthidech et al. 2008. Antibacterial activity from Siamese crocodile (Crocodylus siamensis) serum. African Journal of Biotechnology. Vol. 7 (17): 3121-3128.
Leave A Comment